f
title
แขวงทางหลวงกระบี่
Krabi Highway District
การขออนุญาตทำทางเชื่อมกับทางหลวง
ลงวันที่ 14/10/2564

หลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข (ถ้ามี) ในการยื่นคำขอและในการพิจารณาอนุญาต

          เมื่อผู้ใดมีความต้องการจะทำทางเชื่อมกับทางหลวงต้องมีการขออนุญาตทำทางเชื่อม ตามพรบ.ทางหลวงมาตรา 37 โดยมีรายละเอียดที่ต้องทราบ ดังนี้

 

อำนาจในการพิจารณาอนุญาต

           1. รองอธิบดีกรมทางหลวง ผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจากผู้อำนวยการทางหลวง (อธิบดีกรมทางหลวง) เป็นผู้มีอำนาจในการอนุญาตให้ก่อสร้างทางเชื่อมทุกประเภทและทุกกรณี

           2. ผู้อำนวยการสำนักงานทางหลวง และผู้อำนวยการแขวงทางหลวง เป็นผู้มีอำนาจในการอนุญาตให้ก่อสร้างทางเชื่อมทุกประเภทที่อยู่ในหลักเกณฑ์ตามแบบมาตรฐาน 37/1, 37/2, 37/3 หรือรูปแบบที่เป็นมาตรฐานกรมทางหลวง หากนอกเหนือจากแบบมาตรฐานเป็นอำนาจของ รองอธิบดีกรมทางหลวง

 

เงื่อนไขที่ทางผู้ขออนุญาตต้องทราบ

           1. ขั้นตอนการดำเนินงานตามคู่มือจะเริ่มนับระยะเวลาตั้งแต่เจ้าหน้าที่ตรวจสอบเอกสารครบถ้วนตามที่ระบุไว้ในคู่มือประชาชนเรียบร้อยแล้ว

           2. การขออนุญาตทำทางเชื่อมกับทางหลวง ผู้ขออนุญาตต้องมีที่ดินติดกับเขตทางหลวง โดยการยื่นขออนุญาตหากเจ้าของที่ดินไม่สามารถดำเนินการเองได้ ให้ทำหนังสือมอบอำนาจให้ผู้อื่นกระทำแทน พร้อมแสดงสำเนาโฉนดที่ดินที่ติดกับเขตทางหลวง

           3. การขออนุญาตทำทางเชื่อมเข้า-ออก โครงการก่อสร้างขนาดใหญ่ที่มีปริมาณรถเข้า-ออกจำนวนมาก เช่น ห้างสรรพสินค้า, นิคมอุตสาหกรรม เป็นต้น เอกสารการยื่นขออนุญาต ต้องแสดงเอกสารการวิเคราะห์ผลกระทบทางด้านการจราจร

           4. การพิจารณาของส่วนกลางต้องมีการตรวจสอบพื้นที่บริเวณที่ขออนุญาต โดยจะใช้เวลา 15 วันทำการ

           5. งานทางเชื่อมที่มีรูปแบบไม่เป็นไปตามมารตรฐานกรมทางหลวง ต้องมีการส่งเรื่องให้ทางสำนักต่างๆ ในส่วนกลางที่เกี่ยวข้องพิจารณา โดยจะใช้ระยะเวลาในช่วงขั้นตอนพิจารณาเพิ่มขึ้นจากเดิม 65 วันทำการ เป็น 100 วันทำการ

           6. ผู้ขออนุญาตต้องแสดงรายละเอียด ที่อยู่ หรือ เบอร์โทรศัพท์ ที่ใช้ติดต่อให้ชัดเจน ในหนังสือขออนุญาต กรณีที่ทางเจ้าหน้าที่ต้องการข้อมูลประกอบการพิจารณางานขออนุญาต

           7. กรณีคำขอหรือรายการเอกสารประกอบการพิจารณาไม่ถูกต้องหรือไม่ครบถ้วน และไม่อาจแก้ไข/เพิ่มเติมได้ในขณะนั้น เจ้าหน้าที่กรมทางหลวงและผู้ขออนุญาตจะต้องลงนามบันทึกความบกพร่องและรายการเอกสาร/หลักฐาน ร่วมกัน พร้อมกำหนดระยะเวลาให้ผู้ขออนุญาต ดำเนินการแก้ไข/เพิ่มเติม ได้ภายในระยะเวลาที่กำหนด เจ้าหน้าที่กรมทางหลวงจะดำเนินการคืนคำขอและเอกสารประกอบการพิจารณา

                         7.1 เจ้าหน้าที่กรมทางหลวงจะยังไม่พิจารณาคำขอ และยังไม่นับระยะเวลาดำเนินงาน จนกว่าผู้ขออนุญาตจะดำเนินการแก้ไขคำขอหรือยื่นเอกสารเพิ่มเติมครบถ้วนตามบันทึกความบกพร่องนั้นเรียบร้อยแล้ว

                         7.2 ขั้นตอนการดำเนินงานตามคู่มือจะเริ่มนับระยะเวลาตั้งแต่เจ้าหน้าที่ตรวจสอบเอกสารครบถ้วนตามที่ระบุไว้ในคู่มือประชาชนเรียบร้อยแล้ว

           8. กรณีที่เอกสารครบถ้วนสมบูรณ์โดยผ่านการพิจารณามาแล้วจากแขวงทางหลวงและสำนักงานทางหลวง แต่เมื่อเข้าสู่ขั้นตอนการพิจารณาของสำนักอำนวยความปลอดภัย พิจารณางานขออนุญาตแล้วเกิดความไม่สมบูรณ์ เจ้าหน้าที่กรมทางหลวงจะประสานทางผู้ขออนุญาตเข้ามาชี้แจงให้ข้อมูลประกอบการพิจารณา โดยหากผู้ขออนุญาตไม่เข้ามาชี้แจงภายในระยะเวลาตามที่มีการตกลงกันระหว่างผู้ขออนุญาตกับทางเจ้าหน้าที่กรมทางหลวงไว้ ให้ถือว่าการพิจารณาเป็นอันสิ้นสุดลง

           9. เบื้องต้นผู้ขออนุญาตควรศึกษารายละเอียดการขออนุญาตได้จากทางเว็บไซต์ กรมทางหลวง www.doh.go.th หรือโทรสอบถามได้ตามหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรวมทั้งสามารถโทรสอบถามได้ทาง 1586 เพื่อให้งานขออนุญาตเกิดความรวดเร็วและถูกต้อง

 

ช่องทางการใช้บริการ

สถานที่ให้บริการ

หมวดทางหลวง / แขวงทางหลวง ในพื้นที่ที่ขออนุญาต

ติดต่อด้วยตนเอง ณ หน่วยงาน (เว้นวันหยุดราชการและวันนักขัตฤกษ์)

ระยะเวลาเปิดให้บริการ

เปิดให้บริการวันจันทร์ ถึง วันศุกร์ (ยกเว้นวันหยุดที่ราชการกำหนด)

ตั้งแต่เวลา 08.30 - 16.30 น. (มีพักเที่ยง)

 

ขั้นตอน ระยะเวลา และส่วนงานที่รับผิดชอบ

           ระยะเวลาในการดำเนินการรวม : 73 วันทำการ

ลำดับ ขั้นตอน ระยะเวลา ส่วนที่รับผิดชอบ
1)

การตรวจสอบเอกสาร

หมวดทางหลวง / แขวงทางหลวงรับคำขอ/ตรวจสอบเอกสาร

1 วันทำการ กรมทางหลวง
2)

การพิจารณา

- หมวดทางหลวง นัดหมายผู้ขออนุญาต เพื่อตรวจสถานที่จุดขออนุญาตเสนอความเห็นต่อแขวงทางหลวงเพื่อพิจารณา ( 10 วันทำการ )

- แขวงทางหลวงตรวจสอบเสนอสำนักงานทางหลวง ( 5 วันทำการ )

- สำนักงานทางหลวงตรวจสอบเสนอสำนักอำนวยความปลอดภัย ( 5 วันทำการ)

- สำนักอำนวยความปลอดภัยพิจารณาเรื่องดำเนินการ ตรวจสอบพื้นที่เพื่อใช้เป็นข้อมูล/ส่งเรื่องให้สำนักต่างๆ ในส่วนกลางที่เกี่ยวข้องพิจารณา (เฉาพกรณีพิเศษ) / พิจารณาเสนอรองอธิบดีกรมทางหลวง

65 วันทำการ กรมทางหลวง
3)

การลงนาม/คณะกรรมการมีมติ

- รองอธิบดีกรมทางหลวงลงนามส่งเรื่องกลับสำนักอำนวยความปลอดภัย

- สำนักอำนวยความปลอกภัย แจ้งผลการพิจารณากับแขวงทางหลวง

- แขวงทางหลวงแจ้งผลการพิจารณากับผู้ขออนุญาต

7 วันทำการ หรมทางหลวง

 

รายการเอกสาร หลักฐานประกอบ

ลำดับ ชื่อเอกสาร จำนวน และรายละเอียดเพิ่มเติม (ถ้ามี) หน่วยงานภาครัฐผู้ออกเอกสาร
1)

บัตรประจำตัวประชาชน ฉบับจริง 1 ฉฐับ

หมายเหตุ (กรณีมอบอำนาจต้องใช้สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้มอบอำนาจด้วย 5 ฉบับ)

 

กรมการปกครอง
2)

บัตรประจำตัวข้าราชการหรือพนักงานองค์กรของรัฐ สำเนา 5 ฉบับ

หมายเหตุ (ลงนามรับรองสำเนาถูกต้องทุกแผ่น)

-
3)

ทะเบียนบ้าน ฉบับจริง 1 ฉบับ

หมายเหตุ (กรณีมอบอำนาจต้องใช้สำเนาทะเบียนบ้านของผู้มอบอำนาจด้วย 5 ฉบับ) 

กรมการปกครอง
4)

หนังสือรับรองนิติบุคคล สำเนา 5 ฉบับ

หมายเหตุ (ลงนามรับรองสำเนาถูกต้องทุกแผ่น)

กรมพัฒนาธุรกิจการค้า
5)

หนังสือคำร้องขออนุญาตแบบฟอร์มหนังสือขออนุญาต มาตรา 37 ตามพรบ.ทางหลวง ฉบับจริง 1 ฉบับ สำเนา 4 ฉบับ

หมายเหตุ (ลงนามรับรองเอกสารทุกแผ่น)

กรมทางหลวง
6)

หนังสือมอบอำนาจพร้อมตราประทับของผู้มีอำนาจลงนามแทนบริษัทหรือห้างหุ้นส่วน จำกัด (กรณีมอบอำนาจให้ผู้อื่นดำเนินการแทน) ฉบับจริง 1 ฉบับ สำเนา 4 ฉบับ

หมายเหตุ (ลงนามรับรองเอกสารทุกแผน)

-
7)

แบบทางเชื่อมตามมาตรฐานกรมทางหลวง หรือ แบบทางเชื่อมรูปแบบพิเศษ ฉบับจริง 1 ฉบับ สำเนา 4 ฉบับ

หมายเหตุ (ลงนามรับรองเอกสารทุกแผ่น)

กรมทางหลวง
8)

แบบผังบริเวณอาคารของผู้ขอฯ ที่มีการแสดงรายละเอียดพื้นที่จอดรถ โดยแบบต้องมีการลงนามผู้ขออนุญาตและเจ้าหน้าที่กรมทางหลวงที่เกี่ยวข้อง ฉบับจริง 1 ฉบับ สำเนา 4 ฉบับ

หมายเหตุ (ลงนามรับรองเอกสารทุกแผ่น)

กรมทางหลวง
9)

สำเนาเอกสารสิทธิครอบรองที่ดิน (โฉนดที่ดิน) สำเนา 5 ฉบับ

หมายเหตุ (ลงนามรับรองสำเนาถูกต้องทุกแผ่น)

กรมที่ดิน
10)

หนังสือยินยอมหรือมอบอำนาจจากเจ้าของที่ดิน (ในกรณีเป็นการเช่าที่ดิน) ฉบับจริง 1 ฉบับ สำเนา 4 ฉบับ

หมายเหตุ (ลงนามรับรองเอกสารทุกแผ่น)

-
11)

หนังสือยินยอมจากผู้รับจำนอง (กรณีที่ดินติดจำนอง) ฉบับจริง 1 ฉบับ สำเนา 4 ฉบับ

หมายเหตุ (ลงนามรับรองเอกสารทุกแผ่น)

-
12)

หนังสือยินยอมจากเจ้าของที่ดินข้างเคียง (กรณีรัศมีเลี้ยวล้ำหน้าที่ดินข้างเคียง) ฉบับจริง 1 ฉบับ สำเนา 4 ฉบับ

หมายเหตุ (ลงนามรับรองเอกสารทุกแผ่น)

-

 

ค่าธรรมเนียม

ลำดับ รายละเอียดค่าธรรมเนียม ค่าธรรมเนียม (บาท/ร้อยละ)
1) ไม่มีค่าธรรมเนียม ค่าธรรมเนียม 0 บาท

 

ช่องทางการร้องเรียน/แนะนำบริการ

ลำดับ ช่องทางการร้องเรียน/แนะนำบริการ
1) สำนักอำนวยความปลอดภัย ที่อยู่ 2/486 อาคาร 25 ชั้น 1 ถนนศรีอยุธยา แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร 10400 โทรศัพท์ 0-2354-6598 โทรสาร 0-2354-6713
2) กรมทางหลวง ที่อยู่ 2/486 ถนนศรีอยุธยา แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร 104000 โทรศัพท์ 0-234-6530 โทรสาร 0-2354-6738
3) สายด่วนกรมทางหลวง 1586
4) เว็บไซต์ www.doh.go.th ผ่าน Banner ศูนย์รับเรื่องร้องเรียน ร้องทุกข์
5) ศูนย์บริการประชาชน สำนักปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี เลขที่ 1 ถ.พิษณุโลก เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร 10300 / สายด่วน 1111 / www.1111.go.th / ตู้ปณ.1111 เลขที่ 1 ถ.พิษณุโลก เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร 10300
6)

ศูนย์รับเรื่องร้องเรียนการทุจริตในภาครัฐ (สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ/สำนักงาน ป.ป.ท.)

เลขที่ 99 หมู่ 4 อาคารซอฟท์แวร์ปาร์ค ชั้น 2 ถนนแจ้งวัฒนะ ตำบลคลองเกลือ อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี 11120) / สายด่วน 1206 / โทรศัพท์ 0-2502-6670-80 ต่อ 1900, 1904-7 โทรสาร 0-2502-6132

www.pacc.go.th/ www.facebook.com/PACC.GO.TH

 

ศุนย์รับเรื่องร้องเรียนสำหรับนักลงทุนต่างชาติ (The Anti-Corruption Operation center)

Tel. : +66-92-668-0777 / Line Fad.pacc / Facebook : The Anti-Corruption Operater / E-mail : Fad.pacc@gmail.com

 

 

เอกสารดาวน์โหลด

คำอธิบาย จำนวนดาวน์โหลด ดาวน์โหลด
ทางเชื่อมทุกประเภทและทุกกรณี (มาตรา 37)(N) 249 ดาวน์โหลด

'