f
title
แขวงทางหลวงกระบี่
Krabi Highway District
หน้าที่ความรับผิดชอบ
ลงวันที่ 12/12/2561

หน้าที่และความรับผิดชอบของแขวงทางหลวงกระบี่

แขวงทางหลวงกระบี่

 มีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้

     (1) วางแผนเกี่ยวกับงานบำรุงรักษาทางหลวง งานอำนวยความปลอดภัยทางหลวง และงานก่อสร้างโครงการขนาดเล็ก

     (2) สำรวจ ตรวจสอบ และจัดทำแผนและข้อมูลเกี่ยวกับแหล่งวัสดุ งานทางและสภาพสายทางเบื้องต้น

     (3) ดำเนินการเกี่ยวกับงานรักษาทางหลวง งานอำนวยความปลอดภัย และงานก่อสร้างโครงการขนาดเล็ก

     (4) บำรุงรักษาเพื่อป้องกันเสีย ปรับแต่ง ซ่อมเบาเครื่องจักร ยานพาหนะ เครื่องมือเครื่องใช้สำหรับงานก่อสร้างและงานบำรุงรักษาทางหลวงที่อยู่ในความรับผิดชอบ

     (5) ดำเนินงานเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของประชาชนในพื้นที่ที่มีโครงการก่อสร้าง บูรณะ และบำรุงรักษาทางหลวง

     (6) ตรวจตรา ดูแล และบังคับใช้กฎหมายว่าด้วยทางหลวงตามที่ได้รับเป้าหมาย

     (7) ดำเนินการเกี่ยวกับการอนุญาตทางกฎหมายว่าด้วยทางหลวงตามที่ได้รับมอบหมาย

     (8) ดำเนินการเกี่ยวกับด่านชั่งน้ำหนักยานพาหนะเคลื่อนที่

     (9) สนับสนุนและปฏิบัติงานร่วมกับจังหวัดและหน่วยงานอื่น

     (10) ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง หรือที่ได้รับมอบหมาย

 

ฝ่ายบริหารงานทั่วไป

มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้

     (1) รับผิดชอบงานสารบรรณ งานการเงินและบัญชี งานพัสดุและสัญญา งานเทคโนโลยีสารสนเทศ งานด้านการประชาสัมพันธ์ และการมีส่วนร่วมของประชาชนในพื้นที่

     (2) รวบรวม ติดตาม จัดทำรายงานและให้ข้อมูลต่างๆ

     (3) ติดต่อประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

 

ฝ่ายวิศวรรม

มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้

     (1) จัดทำแผนยุทธศาสตร์และบูรณาการแผนต่างๆ ของแขวงทางหลวง

     (2) ศึกษา วิเคราะห์ ข้อมูลต่างๆ เพื่อวางแผนและจัดลำดับความสำคัญในงานพัฒนาทางหลวง บำรุงรักษาทางหลวง งานอำนวยความปลอดภัยและงานโครงการก่อสร้าง

     (3) จัดทำแผนการดำเนินงานในงานพัฒนาทางหลวง บำรุงรักษาทางหลวง งานอำนวยความปลอดภัยและงานโครงการ

     (4) ตรวจสอบและจัดทำแผนงานบำรุงปกติและแผนเครื่องจักรยานพาหนะ

     (5) เร่งรัด ติดตาม ประเมินผลรายงานความก้าวหน้าของโครงการให้เป็นไปตามแผน และเพื่อปรับปรุงการวางแผน รวมทั้งเสนอข้อแก้ไขปัญหาต่างๆ 

     (6) จัดทำข้อมูลแหล่งวัสดุงานทางและสภาพสายทางเบื้องต้น

     (7) ดำเนินการด้านงานอำนวยความปลอดภัยเกี่ยวกับไฟสัญญาณจราจร ไฟฟ้าแสงสว่าง ตามหลักเกณฑ์ที่กรมกำหนด และซ่อมแซมไฟฟ้าแสงสว่างและอุปกราณ์ที่เกี่ยวข้องในอาคารสำนักงานและอาคารที่พักอาศัย

     (8) ดำเนินการด้านงานอำนวยความปลอดภัยเกี่ยวกับการติดตั้งป้ายและเครื่องหมายจราจร ตามหลักเกณฑ์ที่กรมกำหนด 

     (9) ควบคุมดูแลรักษาป้าย เครื่องหมายจราจรและอุปกรณ์อำนวยความปลอดภัยอื่นๆ ให้อยู่ในสภาพที่ใช้การได้อย่างมีประสิทธิภาพ

     (10) ซ่อมแซมอาคาร สำนักงาน บ้านพักและอุกรณ์ที่เกี่ยวข้อง

     (11) ปรับปรุงดูแลภูมิทัศน์ในพื้นที่ความรับผิดชอบของแขวงทางหลวง

     (12) ดำเนินงานด้านบริหารการใช้เครื่องจักรกล รวมทั้งการซ่อมและบำรุงรักษาเครื่องจักรกล ให้สอดคล้องกับภารกิจของแขวงทางหลวง

     (13) ให้การสนับสนุนภารกิจของหมวดทางหลวง

     (14) เร่งรัด ติดตาม ประเมินผล ให้เป็นไปตามแผน

 

ฝ่ายปฏิบัติการ

มีอำนาจหน้าที่ดังนี้

     (1) วางแผนแลพดำเนินการควบคุมการปฏิบัติงานบำรุงรักษาทาง เพื่อให้ทางอยู่ในสภาพเรียบร้อย สะดวก ปลอดภัยต่อการจราจร

     (2) วางแผนและควบคุมการใช้เครื่องจักร ยานพาหนะ เครื่องมือ เครื่องใช้ต่างๆ ในงานทางให้มีประสิทธิภาพและเหมาสม 

     (3) ควบคุมงานก่อสร้าง งานบำรุงรักษาทาง และงานอำนวยความปลอดภัย ให้เป็นไปตามสัญญา มาตรฐานและข้อกำหนด

     (4) ตรวจตรา ดูแล บังคับใช้กฎหมายว่าด้วยทางหลวง และดำเนินการชั่งน้ำหนักยานพาหนะ

     (5) ดำเนินการเกี่ยวกับการอำนวยความปลอดภัยในเขตทางหลวง

     (6) ควบคุม ดูแลเขตทางหลวง ระวังชี้แนวเขตทางหลวง ที่ดินสงวนนอกเขตทางในพื้นที่ รวมทั้งการป้องกันการรุกล้ำเขตทางหลวง

     (7) ตรวจตรา ควบคุม ดูแลและดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยทางหลวงตามที่ได้รับมอบหมาย

     (8) ตรวจสอบและควบคุมการขออนุญาตใดๆ 

     (9) รายงานผลการปฏิบัติงานและสถิติต่างๆ ตามที่ได้รับมอบหมาย ตลอดจนการรายงานน้ำท่วม อุบัติเหคุและเหตุการณ์ฉุกเฉินที่เกิดขึ้นบนทางหลวง 

     (10) ดำเนินการโครงการตามที่ได้รับมอบหมาย 

     (11) บูรณาการทำงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่

     (12) เร่งรัด ติดตามแก้ไขปัญหา และรายงานผลการปฏิบัติงาน

     (13) เสนอความเห็น รายงานข้อเท็จจริง เกี่ยวกับการดำเนินการใดๆ ในเขตทางหลวงไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 

 

 หมวดทางหลวงอาวุโส

มีอำนาจหน้าที่ดังนี้

     (1) สำรวจสภาพสายทาง แนวเขตทาง ที่อยู่ในความรับผิดชอบเพื่อเป็นข้อมูลประกอบในการจัดทำแผนงานบำรุงรักษาทางหลวง งานอำนวยความปลอดภัยบนทางหลวง และงานก่อสร้างโครงการในพื้นที่

     (2) บริหาร ควบคุม กำกับ ดูแล เส้นทางที่มีปริมาณจราจรสูงมาก และพื้นที่ที่มีลักษณะพิเศษ

     (3) วางแปนและการดำเนินการควบคุมการปฏิบัติงานบำรุงรักษาทาง งานอำนวยความปลอดภัย งานก่อสร้าง เพื่อให้สายทางอยู่ในสภาพตามมาตรฐาน และข้อกำหนดของกรมทางหลวง

     (4) วางแปนและควบคุม ดูแลการใช้และการซ่อมบำรุง เครื่องจักร ยานพาหนะ เครื่องมือ เครื่องใช้ต่างๆ ตลอดจนสำนักงาน บ้านพัก และอาคารต่างๆ ให้อยู่ในสภาพสมบูรณ์ และนำมาใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพและเหมาะสม

     (5) ตรวจตรา กำกับ ดูแล และบังคับใช้กฎหมายว่าด้วยทางหลวง และกฎหมายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อความเป็นระเบียบเรียบร้อย และสนับสนุนการดำเนินการชั่งน้ำหนักยานพาหนะ

     (6) ดำเนินการเกี่ยวกับการอำนวยความปลอดภัยในเขตทางหลวง โดยการยกระดับความปลอดภัย และแก้ไขปรับปรุง จุดอันตรายบนทางหลวง เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพทางหลวง

     (7) ดูแล รักษา ปรับปรุงภูมิทัศน์ในเขตทางที่รับผิดชอบให้มีความสวยงาม และปลอดภัยในการใช้งาน

     (8) ควบคุม ดูแลเขตทางหลวง และทรัพย์สินของกรมทางหลวง โดยป้องกันมิให้รุกล้ำเขตทางหลวง หรือการดำเนินการใดๆ ในเขตทางหลวง โดยมิได้รับอนุญาต

     (9) ตรวจสอบ และควบคุมการขออนุญาตใดๆ ในพื้นที่ที่รับผิดชอบในเขตทางหลวง 

     (10) รวบรวม และรายงานผลการปฏิบัติงาน และสถิติต่างๆ ตามที่ได้รับมอบหมาย ตลอดจนการรายงานน้ำท่วม อุบัติเหตุ และเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นบนทางหลวง

     (11) ชี้แจง ประชาสัมพันธ์ ให้หน่วยงานต่างๆ รวมถึงการดำเนินการเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของประชาชนในพื้นที่ที่มีโครงการก่อสร้าง บูรณะและการบำรุงรักษาทางหลวง

     (12) บูรณาการการทำงานร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่

     (13) เร่งรัด ติดตาม แก้ไขปัญหา รายงานผลการปฏิบัติงาน และเสนอความเห็น ข้อเท็จจริง เกี่ยวกับการดำเนินการใดๆ ในเขตทางหลวงไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

 

 

** หมายเหตุ :

งานบำรุงปกติ คือ งานกำกับดูแลและซ่อมแซมบำรุงรักษาทำความสะอาดเสริมแต่งทางหลวง เป็นกิจกรรมที่ต้องทำเป็นประจำอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้ทางหลวงอยู่ในสภาพใช้งานได้ตามสมควร
สามารถอำนวยความสะดวกและความปลอดภัยแก่ผู้ใช้เส้นทางและเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความเสียหายเพิ่มขึ้น

งานบำรุงตามกำหนดเวลา คือ งานซ่อมบำรุงทางหลวง ซึ่งต้องดำเนินการเมื่อถึงกำหนดเวลาเพื่อยืดอายุบริการและเสริความแข็งแรงสำหรับรับรองปริมาณการจราจรที่เพิ่มขึ้นในอนาคต

งานบำรุงพิเศษและบูรณะ คือ ซ่อมบำรุงทางหลวงที่ชำรุดเสียหาย โดยปริมาณความเสียหายมากจนต้องเข้าดำเนินการให้ดีขึ้นเหมือนเดิม

งานอำนวยความปลอดภัย คือ ก่อสร้าง ติดตั้ง จัดทำปรับปรุงเปลี่ยนแปลงอุปกรณ์ งานจราจรสงเคราะห์ ทางจักรยาน สะพานลอยคนเดินข้าม ที่จอดรถประจำทาง และส่วนที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้เพื่อความสะดวกและปลอดภัยแก่ผู้ใช้เส้นทาง

งานฉุกเฉิน คือ ซ่อมแซมแก้ไขทางหลวงหรือทรัพย์สินของทางราชการที่เกิดชำรุดเสียหายมากจากอุบัติภัยที่ไม่อาจคาดการณ์ได้

งานบริหารเครื่องจักรบำรุงทาง คือ วางแผนการใช้เครื่องจักรให้มีประสิทธิภาพ รวมถึงการบำรุงรักษาเครื่องจักรให้อยู่ในสภาพใช้งานได้ดีตลอดเวลา


'